บทที่ 4

เปรียบเทียบ ผลกระทบของ SPH. / CYL. / Addition และ Face Form Angle

ระหว่าง เลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนยีเก่า กับ

เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form Technology Progressive Back Surface

 

            ในบทนี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของพื้นที่การมอง เมื่อมองด้วยตาทั้งสองข้าง  บนเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่า กับเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีล่าสุด 4 ชนิด

 

1)       12 โครงสร้าง : เลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่า Semi-Finished Multi-Design by Addition 12 โครงสร้าง ออกแบบสำหรับ P.D. 64 mm / PTA 7 องศา / FFA 5 องศา / CVD 13 mm เท่านั้น

 

2)       60 โครงสร้าง : เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า Semi-Finished Multi-Design by SPH. & Addition 60 โครงสร้าง ออกแบบสำหรับ P.D. 64 mm  / PTA 7 องศา / FFA 5 องศา / CVD 13 mm เท่านั้น

 

3)       Free Form : เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form Technology Progressive Back Surface 4,000,000 โครงสร้าง ออกแบบ อย่างเฉพาะเจาะจงตามค่า SPH. Step ละ 0.25D / ค่า CYL. Step ละ 0.25D & CYL. AXIS Step ละ 1 องศา / รองรับค่า P.D. ได้ตั้งแต่ 40 – 80 mm / PTA 7 องศา / FFA 5 องศา / CVD 13 mm

 

4)       Individual : เลนส์โพรเกรสซีฟ Individual Free Form Technology Progressive Back Surface 42,600,000,000 โครงสร้าง ออกแบบและผลิตพิเศษอย่างเจาะจงแต่ละค่าสายตา สำหรับกรอบแว่นแต่ละอัน เฉพาะบุคคล

 

หมายเลขในภาพแต่ละชุด แทนเลนส์โพรเกรสซีฟทั้ง 4 ชนิด 1) , 2) , 3) และ 4) ตามลำดับ

ภาพแต่ละชุด มี 4 ภาพ เปรียบเทียบเลนส์โพรเกรสซีฟทั้ง 4 ชนิด ที่ค่าสายตา และพารามิเตอร์เดียวกัน

 

การเปรียบเทียบผลของค่าพารามิเตอร์ในบทนี้ จะเปรียบเทียบเฉพาะ Face Form Angle ( FFA ) มาตรฐาน 5 องศา กับ FFA 0 องศา ( หน้าแว่นแอ่นออก )

 


 ภาพแสดง FFA มาตรฐาน 5 องศา

 

ภาพแสดง FFA 0 องศา

หรือที่เรียกกันว่า “ หน้าแว่นแอ่นออก ” ส่วนใหญ่เกิดจากแว่นมีขนาดเล็กกว่าขมับเกิน 10 mm


1.      R/L Plano ADD 2.00D       :  Face Form Angle ( FFA ) 5 องศาตามมาตรฐาน

 

·        เบอร์สายตา R/L Plano ADD 2.00D หาก PD ลูกค้า 64 mm เราสามารถปรับแต่งกรอบแว่นให้ได้ค่าพารามิเตอร์ PTA / FFA / CVD ตามมาตรฐาน เลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่า 12 โครงสร้าง ก็สามารถใช้งานได้ดีพอสมควร

·        เลนส์โพรเกรสซีฟ 60 โครงสร้าง จะให้พื้นที่การมองใกล้กว้างกว่าถึง 50 %

·        เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form ให้พื้นที่การมองใกล้กว้างกว่าเลนส์โพรเกรสซีฟ 60 โครงสร้าง เพียง 30%

 

 

2.      R/L Plano ADD 2.00D       :  FFA = 0 องศา ( หน้าแว่นแอ่นออก )

ภาพแสดงพื้นที่การมองเห็นที่แคบลง เมื่อค่า FFA ( Face Form Angle หรือที่เรียกกันภาษาช่างแว่นว่า “ หน้าแว่น ” ) = 0 องศา มีเพียงเลนส์โพรเกรสซีฟ Individual ในภาพหมายเลข 4) เท่านั้น ที่พื้นที่การมองไม่แคบลง

3.      R/L SPH. + 2.00D ADD 2.50D       :  Face Form Angle ( FFA ) 5 องศาตามมาตรฐาน

·        เลนส์โพรเกรสซีฟ 12 โครงสร้าง ในภาพหมายเลข 1) พื้นที่การมองแคบลงมาก จนใช้งานได้ลำบาก

·        เลนส์โพรเกรสซีฟ 60 โครงสร้าง ในภาพหมายเลข 2) พื้นที่การมอง ยังคงพอเพียงกับการใช้งาน

·        เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form ในภาพหมายเลข 3) พื้นที่การมองใกล้ ยังคงกว้าง และใส่สบาย

 

 

4.      R/L SPH. + 2.00D ADD 2.50D       : FFA = 0 องศา ( หน้าแว่นแอ่นออก )

 

การประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า 60 โครงสร้าง หรือ เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form Technology เบอร์สายตา R/L SPH. + 2.00D ADD 2.50D จึงต้องปรับแต่งค่า FFA ให้ได้ 5 องศาตามมาตรฐาน เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพคุ้มค่าเงินหมื่นกว่าบาทที่จ่ายให้กับทางร้าน

 

5.      R/L SPH. - 4.00D ADD 2.50D        :  Face Form Angle ( FFA ) 5 องศาตามมาตรฐาน

 

 

6.      R/L SPH. - 4.00D ADD 2.50D        : FFA = 0 องศา ( หน้าแว่นแอ่นออก )

 

ปัญหาเรื่องหน้าแว่นแอ่นออก พบได้บ่อยในการประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟบนกรอบเจาะ SPH. – 4.00D ขึ้นไป เลนส์จะมีความโค้งประมาณ 2D หากเจาะด้วยวิธีปกติ จะทำให้หน้าแว่นแอ่นออก และหากแก้ไขมุมเจาะ ก็จะทำให้ขาบีบขมับเข้ามา ต้องดัดขาให้กางออก ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะ และ ความชำนาญ ในระดับสูง

การประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟบนกรอบเจาะ จึงควรเลือกใช้แต่เลนส์โพรเกรสซีฟเนื้อเหนียว High Tensile Strength ความคมชัดสูง ABBE 41 ขึ้นไป เท่านั้น เช่น MR-20 ABBE 42 , MR-8 ABBE 41 , Trivex ABBE 43 เพราะให้ให้ภาพคมชัด และ สามารถปรับแต่งกรอบแว่นได้ง่ายโดยไม่ต้องถอดเลนส์ออกก่อน

7.      R/L SPH. - 4.00D CYL. - 2.00D x 180 ADD 2.50D            :  FFA  5 องศาตามมาตรฐาน

 

8.      R/L SPH. - 4.00D CYL. - 2.00D x 180 ADD 2.50D            : FFA = 0 องศา

1)   12 โครงสร้าง                      2)   60 โครงสร้าง

 

3)   Free Form                           4)   Individual

 

การประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟที่เบอร์สายตา R/L SPH. - 4.00D CYL. - 2.00D x 180 ADD 2.50D ขึ้นไป เป็นเบอร์สายตาที่ต้องอาศัยฝีมือในการประกอบ โดยจะต้องประกอบให้ได้ค่าพารามิเตอร์มาตรฐาน และควรแจ้งลูกค้าให้นำแว่นมาปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ทุก 3 – 6 เดือน หรือ ให้นำแว่นมาปรับแต่งทันทีที่รูปทรงเปลี่ยนไปจากตำแหน่งปกติ ( ผมประสบความสำเร็จสูงสุดในการขายเลนส์โพรเกรสซีฟ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผมสามารถปรับแต่งแว่นโพรเกรสซีฟอันเดิมของลูกค้าที่ทำมาจากที่อื่นให้ใส่สบายกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด ลูกค้าจึงซื้อเลนส์โพรเกรสซีฟระดับพรีเมี่ยม และไฮเอนด์ ที่ผมนำเสนอเสมอ )

9.      R/L SPH. + 2.00D CYL. - 4.00D x 180 ADD 2.50D                        : FFA = 5 องศา

 

จากภาพทั้งสิบชุดที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างของเลนส์โพรเกรสซีฟทั้ง 4 เทคโนโลยี ในแต่ละค่าสายตา ทั้งในกรณีที่ค่าพารามิเตอร์ได้มาตรฐาน และ ในกรณีที่หน้าแว่นแอ่นออก

ภาพต่อไปนี้ แสดง ความกว้างของโซนไกล โซนกลาง และ โซนใกล้ ที่เปลี่ยนไปตามค่าพารามิเตอร์กรอบแว่น ของเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า 60 – 120 โครงสร้าง ราคาขายปลีกคู่ละหมื่นกว่าบาท ที่ค่าสายตา R/L 0.00 ADD 2.00D ซึ่งออกแบบมาสำหรับค่า CVD 13 mm , PT 7 องศา และ FFA 3 องศา ในกรณีที่ค่า P.D.มาตรฐาน 32 / 32 ( ซึ่งยังไม่มีผลกระทบจากความแคบ / กว้าง ของ P.D. )


   ให้สังเกตุพื้นที่การมองเห็นที่แคบลง ตามค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างกันของกรอบแว่นแต่ละอัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณ พื้นที่มองใกล้ ที่แคบลงตามความแตกต่างของค่าพารามิเตอร์ทั้ง 3 เป็นผลให้ผู้ใช้ อ่านหนังสือได้ลำบาก


 

ทั้ง 4 ภาพที่ผ่านมา เป็นคำอธิบายปัญหา ที่ร้านแว่นมักประสบว่า ลูกค้าหลายท่าน บ่นว่าอ่านหนังสือลำบาก หรือ อ่านหนังสือไม่ได้เลย แม้จะยอมจ่ายเงินซื้อเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่า Semi-Finished Progressive Front Surface เป็นเงินหมื่นกว่าบาทแล้วก็ตาม เนื่องจากค่าพารามิเตอร์ในการใช้งานจริง ต่างกับค่าพารามิเตอร์ที่เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงคู่นั้น ถูกออกแบบมา มากเกินไป

เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า Semi-Finished Progressive Front Surface   มีข้อจำกัด ดังต่อไปนี้

1.       มีค่า Inset เพียง 60 – 120  โครงสร้างแบบ Semi-Finished ตามค่า SPH. 6 – 10 โครงสร้างตาม Base Curve ด้านหน้า และ ตาม Progressive Front Surface 12 Addition ซึ่งทุกโครงสร้าง ถูกออกแบบให้เหมาะกับค่า SPH. เท่ากันทั้งสองข้าง step ละ 1.00D – 2.00D โดยไม่คำนึงถึงค่าสายตาเอียง ทำให้

·        ผู้ใช้ที่มีค่า SPH. แต่ละข้างแตกต่างกัน ( Anisometropia ) จะมีคุณภาพการมองเห็น ด้อยลงตามค่า Anisometropia โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ Anisometropia เกินกว่า 1.25D ขึ้นไป จะส่งผลให้ผู้ใช้ยิ่งปรับตัวได้ลำบาก

·        ผู้ใช้ที่มีค่าสายตาเอียง ในทุกกำลัง ทุกแนวองศา จะมีคุณภาพการมองเห็น ในทุกระยะ ด้อยกว่าผู้ใช้ที่ไม่มีค่าสายตาเอียง และจะยิ่งด้อยลง ในกรณีที่

a.       แนวแกนของสายตาเอียงที่ 90 องศา

b.       กำลังของสายตาเอียงเกินกว่า -2.00D

c.        แนวแกนของสายตาเอียงทั้งสองข้างแตกต่างกันเกินกว่า 30 องศา ขึ้นไป

ภาพแสดงผลกระทบของกฎทรงมวล ที่เกิดขึ้นตามค่า SPH. และ CYL. บนเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า ในกรณีที่ค่าพารามิเตอร์ ตรงตามที่เลนส์ถูกออกแบบมา


ภาพแรก เป็นค่าสายตา

Plano ADD 2.00 D

ภาพที่สอง เป็นค่าสายตา

SPH.-2.00D ADD 2.00 D


ภาพที่สาม เป็นค่าสายตา

SPH.-6.00D ADD 2.00D

 

ภาพที่สี่ เป็นค่าสายตา

SPH.-2.00D CYL. – 2.50D ADD 2.00D


               

จากภาพทั้งสี่นี้ เป็นคำตอบว่าทำไมผู้ใช้หลายราย ประสบความล้มเหลวในการใช้เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า และ หลายรายมีปัญหาเมื่อใส่ขับรถในเวลากลางคืน

ภาพแสดงการฉีกข้อจำกัดของกฎทรงมวล ที่เกิดขึ้นตามค่า SPH.  บนเลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form Technology  บนค่าพารามิเตอร์ เดียวกันกับเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า จะเห็นได้ว่า เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form  แทบไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เลย ทั้งในด้าน Vision Field , Quality of Vision และ Astigmatism Error แม้ค่า SPH. จะต่างกันถึง 6.00D ก็ตาม

            บนเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่าแบบ Semi-Finished Progressive Front Surface ผู้ออกแบบถูกจำกัดด้วยกฎทรงมวล ที่ค่า Astigmatism Error จะเพิ่มขึ้นตามค่า SPH. / CYL. / ADD เสมอ ทำให้ต้องเลือกระหว่าง

·        ยอมสูญเสีย Quality of Vision ด้วยการเฉลี่ยค่า Astigmatism Error ให้ออกห่างจากศูนย์กลางของเลนส์อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษา Vision Field , Dynamic Vision และ Comfort of Vision ไม่ให้ลดลงมากเกินไป ตามค่า SPH. / CYL. / ADD ที่เพิ่มขึ้น วิธีนี้ส่งผลให้มีจุดอ่อนในการขับรถตอนกลางคืน

·        ยอมสูญเสีย Comfort of Vision และ Dynamic Vision ด้วยการผลักค่า Astigmatism Error ไปรวมไว้บริเวณที่ใช้งานน้อยที่สุด เพื่อรักษา Quality of Vision และ Vision Field ไม่ให้ลดลงมากเกินไป ตามค่า SPH. / CYL. / ADD ที่เพิ่มขึ้น วิธีนี้ส่งผลให้มีจุดอ่อนทำให้ใส่ไม่สบาย และ ปรับตัวได้ช้ากว่าวิธีแรก

            เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form Technology  สามารถฉีกข้อจำกัดเดิมๆ ของ เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่าแบบ Semi-Finished Progressive Front Surface ทั้งสองแบบ โดยสามารถออกแบบเลนส์โพรเกรสซีฟให้มี Vision Field กว้างขึ้น 30 – 35 % แต่มี Astigmatism Error น้อยลง 35 % ทำให้ มี Vision Field , Dynamic Vision , Comfort of Vision และ Quality of Vision ใกล้เคียงกันในทุกค่าสายตา โดยออกแบบและผลิตอย่างเฉพาะเจาะจง หลายล้านโครงสร้าง ตามค่าสายตา และ ค่าพารามิเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคน

 

 

 

2.       โครงสร้างเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่าแบบ Semi-Finished Progressive Front Surface ถูกออกแบบมาสำหรับ ค่า P.D. มองไกล ขวา 32 / ซ้าย 32 ( P.D. รวม 64 ) ทำให้

·        ผู้ใช้ที่มีค่า P.D. มองไกล น้อยกว่า 32 / 32 จะเหลือบตาเข้าได้ไม่ถึงจุดศูนย์กลางของ Addition ส่งผลให้ เหลือบตาอ่านหนังสือได้ลำบาก / มีพื้นที่การอ่านหนังสือแคบลงกำลัง และ ส่งผลกระทบเป็นสองเท่าในการใช้งานที่ระยะกลาง

·        ผู้ใช้ที่มีค่า P.D. มองไกล มากกว่า 32 / 32 จะเหลือบตาเข้าเลยจุดศูนย์กลางของ Addition ส่งผลให้ หาระยะชัดได้ช้าลง เมื่อเหลือบตาลงมาอ่านหนังสือ ทำให้ไม่สบายตา และ ส่งผลกระทบเป็นสองเท่าในการใช้งานที่ระยะกลาง

            จากภาพแสดงความแตกต่างของการเหลือบตาเข้ามาอ่านหนังสือ ของผู้ใช้ที่มี P.D. แคบ หรือ กว้างกว่าปกติ ที่ผ่านมานี้ เป็นคำตอบว่าทำไมผู้ใช้หลายราย ประสบความล้มเหลวในการใช้เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า และ หลายรายมีปัญหาในการใช้งานทั้งในระยะกลาง และ ระยะใกล้

 

 

 

เปรียบเทียบโครงสร้างของเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า

1.       Hoyalux Summit pro มีเพียง 120 โครงสร้าง 10 โครงสร้างตามค่า SPH และ 12 โครงสร้างตามค่า ADD

 

2.       Sola Percepta มีเพียง 60 โครงสร้าง 5 โครงสร้างตามค่า SPH 12 โครงสร้างตามค่า ADD

 

3.       เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพง ที่เชื่อกันว่าดีที่สุดในกลุ่มเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่า Semi-finished Progressive Front Surface ( SPFS ) มีเพียง 60 - 72 โครงสร้าง ตามแต่เนื้อวัสดุ โดยมี 5 - 6 โครงสร้างตามค่า SPH ( เนื้อวัสดุ 1.6 ขึ้นไป มี 6 โครงสร้าง ) และ 12 โครงสร้างตามค่า ADD

 

4.       เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่า มี Performance ที่ดีในระดับที่ยอมรับได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

·        เลือกกรอบแว่น และ ปรับแต่งกรอบแว่นให้ได้ค่า Face Form Angle / Cornea Vertex Distance / Pantoscopic Tilt Angle ตามที่เลนส์รุ่นนั้น ถูกออกแบบมา

·        ค่า Rx มีแต่ SPH. / Addition / ไม่มี Anisometropia

·        Near Point Convergence ปกติ

·        Monocular P.D. ประมาณ R 32 / L 32

 

5.    เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่า แต่ละรุ่น จะมีจุดเด่นและจุดด้อย ในแต่ละค่า SPH. ที่ต่างกันออกไป

·        Sola Percepta มีความโดดเด่นในกรณีของ SPH ลบ

 

 

·        เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่าบางรุ่น มีความโดดเด่นในกรณีของ SPH บวก แต่มีจุดอ่อนในกรณีของ SPH ลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณภาพการมองเห็นเมื่อเหลือบมองด้านข้าง ในขณะขับรถตอนกลางคืน

 

6.       เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงที่ใช้เทคโนโลยีเก่าทุกรุ่น จะมี Performance ลดลงในกรณีดังต่อไปนี้

·        กรณีที่มีสายตาเอียง

·        มีปริซึม

·        Anisometropia

·        Near Point Convergence ผิดปกติ

·        Monocular P.D. มากกว่า หรือ น้อยกว่า R 32 / L 32

7.       เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า จะยิ่งมี Performance ลดลง ในกรณีที่

·        กำลังสายตาเอียงเกิน 2.00D

·        แนวแกนของสายตาเอียง ขัดแย้งกัน

·        Anisometropia เกิน 1.25D

·        Near Point Convergence เป็นศูนย์

 

8.    กรณีของ Near Point Convergence ผิดปกติ  หากมีความจำเป็นจะต้องเลือกใช้ เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า ผู้ตรวจ/ประกอบ ควรตรวจ Near Point Convergence ของลูกค้า และ ควรมีความรู้ความเข้าใจใน Inset ของเลนส์ที่ใช้ ในแต่ละค่า Rx เพื่อจะทดค่า P.D. ในการประกอบได้อย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้ Performance ในส่วนของ Reading Zone ไม่ลดลงมากเกินไป ( แต่อาจส่งผลให้ไปลด Performance ของ Intermediate Zone และ Distance Zone )

 

             

ภาพแสดงการหาค่า Near Point Down Gaze Convergence P.D.

 

จะเห็นได้ว่าผู้ใช้เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า จะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระหว่างความคมชัด กับ ความสบาย , มุมมองกว้าง กับ การบิดเบือน , เน้น โซนไกล โซนกลาง หรือ โซนใกล้  อีกทั้งการประกอบให้ใช้ได้ดี ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ เรื่องการทด P.D. , การเลือกใช้โครงสร้างเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่าแต่ละรุ่น ให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน โดยต้องคำนึงถึงค่าสายตา พฤติกรรม อาชีพ งานอดิเรก อุปนิสัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ร้านแว่นทุกร้าน จะสามารถฝึกฝนได้ ในระยะเวลาอันสั้น

เลนส์โพรเกรสซีฟ Individual Free Form Technology จึงเป็นทางลัดสำหรับร้านแว่นขนาดเล็ก ที่มีความจำกัดด้านความรู้ ความชำนาญ บุคลากร งบประมาณ ให้สามารถประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟให้ใช้งานได้ดี สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า อันก่อให้เกิดการขายเลนส์โพรเกรสซีฟแบบทวีคูณ เกิดผลร้อยเท่าบ้าง หกสิบเท่าบ้าง สามสิบเท่าบ้าง ตามศักยภาพของแต่ละร้าน จนก่อเกิดความศรัทธาต่อวิชาชีพตรวจวัดสายตา ประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟทวีคูณ แก่คนรุ่นต่อไป