โพรเกรสซีฟทวีคูณเข้มข้น PRP

Part 1 : ความรู้เรื่องเลนส์โพรเกรสซีฟ

เขียนโดยสมบูรณ์ นำทิพย์จันทาเจริญ ( โบบิ ) ผู้เชี่ยวชาญด้านการขายเลนส์โพรเกรสซีฟทวีคูณ

APCL

 

เลนส์โพรเกรสซีฟไฮเอนด์จากเยอรมัน

ราคาขายปลีกคู่ละ 80,000 บาท

 
               

 

ร้านแว่นที่ต้องการเข้าร่วมอบรมโพรเกรสซีฟทวีคูณ กรุณาสอบถามรายละเอียดได้โดยตรงที่ :
บจ.แอดวานซ์โพรเกรสซีฟแอดดิชั่นเลนส์ : ( 10:00 – 18:00 น. ) ทุกวัน
เบอร์โทรศัพท์  :  02-251-0455-8 แฟกซ์  02-251-0454
E-mail : apcthai@gmail.com

 

เลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงทั่วไป

ราคาขายปลีกคู่ละ 40,000 บาท

 

 

“ ถ้าเชื่อ ก็ทำได้ทุกสิ่ง ”

 

Rodenstock Progressiv AT 1.6 MR-8 ABBE 41 เนื้อเหนียวความคมชัดสูง สำหรับกรอบเจาะ

ราคาขายปลีกคู่ละ 15,000 บาท

 

 
 


สารบัญ                                                                                                                    หน้าที่

 

บทที่ 1    ค่าพารามิเตอร์มาตรฐานของเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่าทั่วไป                                   5

บทที่ 2    Inset ของเลนส์โพรเกรสซีฟ มีผลต่อพื้นที่โซนกลาง และโซนใกล้อย่างไร                             7

 

บทที่ 3    ผลกระทบของ SPH. / CYL. / Addition บนเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่าทั่วไป                12

 

บทที่ 4    เปรียบเทียบผลกระทบของ SPH. / CYL. / Addition และ Face Form Angle                      26

            ระหว่างเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่า

กับ เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form Technology Progressive Back Surface

 

บทที่ 5   เลนส์โพรเกรสซีฟ Free Form Technology                                                                 37

เหนือกว่าเลนส์โพรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีเก่า อย่างไร

 

บทที่ 6   เลนส์โพรเกรสซีฟระดับไฮเอนด์ Individual Free Form Technology                                 42

            เหนือกว่าเลนส์โพรเกรสซีฟ Free Fom ราคาแพงทั่วไป อย่างไร

 

บทที่ 7   การวัดค่าพารามิเตอร์ CVD / PTA / FFA ของกรอบแว่น                                                            46

            อย่างถูกต้อง รวดเร็ว แบบมืออาชีพ

            เพื่อประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟ Individual Free Form Technology

            และ เลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่าทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

Rodenstock Progressiv Life XS 1.6 MR-8 ABBE 41 Super HMC

เนื้อเหนียวความคมชัดสูง สำหรับกรอบเจาะขนาดสูงกรอบตั้งแต่ 20 มิลลิเมตรขึ้นไป ที่ Fitting Height 14 mm

ราคาขายปลีกคู่ละ 15,000 บาท

 

 

 

 

 

บทนำ

นับตั้งแต่ Owen Aves ได้คิดค้นเลนส์โพรเกรสซีฟคู่แรกในปี ค.ศ. 1907 เลนส์โพรเกรสซีฟ ได้รับการพัฒนาให้ปรับตัวได้ง่าย ใส่สบายและ ช่วยให้ Presbyopes มองเห็นชัดทุกระยะในเสี้ยววินาทีอย่างเป็นธรรมชาติ ใกล้เคียงกับการมองเห็นเมื่อครั้งยังหนุ่มสาวมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Individual Free Form Technology ที่ให้อิสระในการเลือกกรอบแว่น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

การตรวจวัดสายตา ประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟ ให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องอาศัยทั้งความรู้  ความชำนาญ เครื่องมือตรวจวัดที่ทันสมัย และการเลือกใช้เลนส์โพรเกรสซีฟแต่ละโครงสร้าง ให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน ตามค่าสายตา บุคลิก ขนาดกรอบแว่น พฤติกรรม อุปนิสัย อาชีพ งานอดิเรก และ งบประมาณ

ร้านแว่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของ Presbyopes ด้วยเลนส์โพรเกรสซีฟคุณภาพสูง ที่ใช้งานได้ดีที่สุด รู้สึกสบายที่สุด ดูดีที่สุด ย่อมสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดแก่ลูกค้าแต่ละราย แล้วแนะนำญาติสนิท มิตรสหาย และ ผู้ใกล้ชิด ให้ใช้เลนส์โพรเกรสซีฟคุณภาพสูง เพื่อชีวิตที่ดีกว่า จนกลายเป็นโพรเกรสซีฟทวีคูณ ปีละมากกว่า 1,000 คู่ จากร้านแว่นเพียงร้านเดียว

หนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมหลักสูตรต่อเนื่อง โพรเกรสซีฟทวีคูณเข้มข้น PRP ของ หสน.นำศิลปไทย มีทั้งหมด 4 คอร์ส สำหรับร้านแว่นในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพในการขายเลนส์โพรเกรสซีฟให้ได้มากกว่าปีละ 1,000 คู่

การอบรมมีเนื้อหาครอบคลุมความรู้เรื่องเลนส์โพรเกรสซีฟทั่วไป , จุดเด่น จุดด้อย ข้อจำกัด ของเลนส์โพรเกรสซีฟแต่ละรุ่น ที่มีจำหน่าย หรือ พบเห็นได้บ่อยในประเทศไทย , การตรวจวัดสายตา ประกอบ การป้องกัน และแก้ไขปัญหา เลนส์โพรเกรสซีฟ , การตลาด การนำเสนอ และ การปิดการขายเลนส์โพรเกรสซีฟระดับไฮเอนด์ หลายคู่กับลูกค้าแต่ละราย แบบมืออาชีพ

ผู้เขียนเชื่อว่า หลักสูตรโพรเกรสซีฟทวีคูณเข้มข้น PRP จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพ ในการตรวจวัดสายตา ประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟ ให้กับร้านแว่นทั่วประเทศ แล้ววันหนึ่ง เมืองไทยของเรา จะเป็นศูนย์กลางการตรวจวัดสายตา ประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟระดับไฮเอนด์ ที่ดีที่สุดในโลก

“ ถ้าเชื่อ ก็ทำได้ทุกสิ่ง ”

14  ตุลาคม 2006

สมบูรณ์ นำทิพย์จันทาเจริญ ( โบบิ )

บริษัท แอดวานซ์ โพรเกรสซีฟ แอดดิชั่นเลนส์ จำกัด

594/178 ถ.อโศก-ดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400

·        โทร./SMS : 081-538-4200 , 02-641-6979

·        แฟ๊กซ์ 02-641-7915

·        e-mail : apcoptik@yahoo.com

www.apcthai.com

บทที่ 1

ค่าพารามิเตอร์มาตรฐานของเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่าทั่วไป

เลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่าทั่วไป ถูกออกแบบมาให้รองรับค่าพารามิเตอร์ 4 ค่า ดังต่อไปนี้

หากค่าพารามิเตอร์ไม่ตรงตามที่เลนส์ถูกออกแบบมา จะทำให้พื้นที่การใช้งานแคบลง การบิดเบือนด้านข้างเพิ่มขึ้น ปรับตัวยาก ใส่ไม่สบาย และในหลายกรณี อาจส่งผลร้ายแรงถึงขนาดไม่สามารถใช้งานได้เลย

ความคลาดเคลื่อนของค่าพารามิเตอร์ ในการประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟ ให้พิจารณาตามความยาวคอริดอร์

·        FFA ค่ามาตรฐาน 5 องศา คลาดเคลื่อนได้ ไม่เกิน + / - 2 องศา

·        CVD ค่ามาตรฐาน 13 mm เกณฑ์พิจารณาขึ้นอยู่กับความยาวคอริดอร์ของเลนส์โพรเกรสซีฟแต่ละรุ่น

o       Short Corridor ค่า CVD 10 mm – 13 mm หากค่า CVD เกิน 13 mm ระยะกลางจะใช้ไม่ได้เลย

o       Semi-Short Corridor ค่า CVD 13 mm – 14 mm เช่น Discovery Xtra , Freedom 13

o       Medium Corridor ค่า CVD 13 – 15 mm เช่น Discovery , Freedom 15 , Progressiv AT

o       Standard Corridor ค่า CVD 13 – 16 mm เช่น Supra Pro , Hoyalux GP

 

·        PTA ค่ามาตรฐาน 7 องศา คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน + / - 4 องศา

·        P.D. ค่ามาตรฐาน 64 mm

o       P.D. น้อยกว่า 64 mm ประกอบคลาดเคลื่อนไปทางกว้าง เป็นผลดีกว่าคลาดเคลื่อนไปทางแคบ

o       P.D. มากกว่า 64 mm ประกอบคลาดเคลื่อนไปทางแคบ เป็นผลดีกว่าคลาดเคลื่อนไปทางกว้าง

ภาพแสดง Pantoscopic Tilt Angle ( PTA ) , Cornea Vertex Distance ( CVD ) , Face Form Angle ( FFA ) และ PD มาตรฐานของเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่า


 

 

 

 

กล่องข้อความ: CVD
13 mm
 

 

 

 



ดังนั้น ในการประกอบเลนส์โพรเกรสซีฟเทคโนโลยีเก่า จึงต้องปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ของกรอบแว่นให้ได้มาตรฐาน ปัญหาคือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ยังขาดความชำนาญในการวัดค่าพารามิเตอร์ และ การปรับแต่งกรอบแว่นให้ได้ค่าพารามิเตอร์ตามที่เลนส์ถูกออกแบบมา

 

วิธีการวัดค่าพารามิเตอร์ มี 4 วิธี

1.       กะโดยประมาณด้วยสายตา : วิธีนี้อาศัยความชำนาญ และความสามารถเฉพาะบุคคล มีข้อดีคือสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องมือ แต่มีข้อเสีย คือ ผิดพลาดได้ง่าย ถ่ายทอดฝึกสอนคนอื่นได้ยาก

2.       วัดด้วยไม้พีดี คู่กับแผ่นวัด FFA : วิธีนี้ ต้องใช้ไม้พีดีที่มีเส้นวัดองศา PTA มีข้อดีคือ สะดวก รวดเร็ว ลงทุนน้อย ให้ความแม่นยำพอสมควร ถ่ายทอดและฝึกสอนคนอื่นได้ง่าย

3.       วัดด้วยเครื่องมือพิเศษ Rodenstock Parameter Ruler : วิธีนี้ สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ดูน่าประทับใจ ถ่ายทอดและฝึกสอนคนอื่นได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือต้องลงทุนซื้อเครื่องมือหลายพันบาท

4.       วัดด้วยเครื่องมือพิเศษ Rodenstock ImpressionIST : วิธีนี้ สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ สร้างความประทับใจได้อย่างสูงสุด และสามารถบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์สมบูรณ์แบบ แต่มีข้อเสียคือต้องลงทุนสูงถึง หนึ่งล้านสองแสนบาท จึงเหมาะสำหรับร้านแว่นที่ต้องการขายเลนส์โพรเกรสซีฟระดับไฮเอนด์ให้กับลูกค้ารายเดียว คราวละหลายคู่

สำหรับเทคนิคการวัดค่าพารามิเตอร์ของกรอบแว่น วิธีที่ 2 และ วิธีที่ 3 จะอธิบายโดยละเอียดภายในเล่มนี้ ส่วนวิธีที่ 4 จะจัดอบรมพิเศษให้กับร้านแว่นที่สนใจซื้อเครื่อง Rodenstock ImpressionIST เท่านั้น